วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ

ข้อเสื่อม พบมากในคนที่มีอายุมากเกิน 40 ปีเป็นต้นไป หรือในวัยที่ผู้หญิงหมดประจำเดือน พบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่อาจมีอันตรายจากการกินยาสเตอรอยด์ หรือกินยาแก้ปวดข้อมากเกินไป



สาเหตุของข้อเสื่อมเกิดจาก เป็นไปตามวัย ข้อมีอาการบาดเจ็บหรือรับน้ำหนักมากเกินไป มีหินปูนเกาะที่ข้อ และกระดูกงอขรุขระ เวลาร่างกายเคลื่อนไหวจึงเกิดการปวดในข้อ อาจมีสาเหตุจาก อาชีพที่ต้องใช้ข้อมาก เช่นอาชีพที่ต้องยืนเวลานานต่อเนื่องกัน อ้วนทำให้ใช้ข้อในการรับน้ำหนักมาก หรือ อายุมากที่มากขึ้น

ส่วนของข้อที่พบบ่อยคือ ข้อที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ข้อกระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อกระดูกคอ ข้อกระดูกสันหลัง เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมในผู้สูงอายุจะมีอาการปวดในข้อ เช่น ปวดหลัง ปวดต้นคอ หรือปวดเข่า เรื้อรังเป็นเดือนหรือเป็นปี ผู้ป่วยที่ปวดที่ข้อมักจะปวดตอนกลางคืน หรือตอนอากาศเย็น คนที่ปวดที่ข้อเข่า มักจะปวดมากตอนที่เปลี่ยนจากท่านั่งไปเป็นท่ายืน หรือ ตอนนั่งคุกเข่า หรือ ขัดสมาธินานๆ และตอนยกของหนัก หรือเดินขึ้นบันไดหลายๆชั้น ข้อที่ปวดปกติจะไม่บวมแดง แต่ถ้าปวดมากอาจบวมแดงได้และมีน้ำขังอยู่ในข้อ เมื่อจับข้อเข่าโยกไปมา จะมีเสียงดังกรอบแกรบๆ ถ้าเป็นมากอาจทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก

การรักษาอาการปวดในข้อ

  • ถ้ามีอาการปวด ให้หยุดพักข้อที่ปวดอยู่นั้น เช่น หยุดเดิน หรือยืน ให้ใช้น้ำร้อนประคล และสามารถกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ในบางครั้ง
  • พยายามอย่าทำสิ่งที่จะทำให้ปวดข้อมากขึ้น เช่น ห้ามหาบน้ำหรือยกของหนัก ห้ามนั่งคุกเข่า หรือ ยืนนานเกินไป พยายามนั่งเหยียดเข่าให้ตรง เลี่ยงการขึ้นบันไดหลายชั้น ถ้าอ้วนหรือมีน้ำหนักมากให้ลดน้ำหนัก • บริหารกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น ถ้าปวดเข่าก็ให้บริหารกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้าให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • โดยการฝึกกล้ามเนื้อต้องทำตอนที่ไม่มีอาการปวดหรืออาการปวดทุเลาไปแล้ว ช่วงแรกฝึกวันละ 2-3 ครั้ง ประมาณครั้งละ 5-10นาที จนรู้สึกกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น จึงเพิ่มปริมาณการฝึกเป็นวันละ 3-5 ครั้ง
  • ถ้าอาการปวดยังเป็นอยู่ไม่ทุเลาลงใน 3-4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด 
ภาวะข้อเสื่อมปกติจะไม่หายขาดและปวดเรื้อรัง บางคนเคลื่อนไหวไม่สะดวก จึงควร ฝึกบริหารกล้ามเนื้อรอบๆข้อที่ปวดให้แข็งแรงอยู่เป็นประจำจะช่วยลดการปวดได้ ถ้ากินยาแก้ปวดควรกิน พาราเซตามอล แต่ไม่ควรกินบ่อย และไม่ควรซื้อยาแก้ปวดเส้น หรือยาลูกกลอนมากินเอง เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ เช่น กระเพาะอาหารทะลุ เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระดูกผุ เป็นต้น

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โรคเสียการทรงตัวในผู้สูงอายุ

โรคหลายๆอย่างในผู้สูงอายุ หรือโรคที่เป็นมาแต่วัยหนุ่มสาวอาจทำให้มีการเสียการทรงตัวได้มาก หรือเสื่อมเร็วขึ้น ได้แก่

  • โรคเบาหวาน จะทำให้เกิดการเสื่อมของร่างกายโดยทั่วไปรวมทั้งระบบประสาทโดยรวม
  • โรคความดันโลหิตสูง การมีความดันโลหิตสูงนั้นหลอดเลือดแข็งตัวอาจมีอาการทางหัวใจด้วย ทำให้การไหลเวียนกระแสโลหิตไปหูชั้นในส่วนการทรงตัวบกพร่อง รวมทั้งการบกพร่องของกระแสโลหิตไปสู่สมองส่วนกลางที่ประมวลข้อมูลการทรงตัว ทำให้ผู้นั้นเกิดอาการวูบ หน้ามืดหรือเวียนหัวบ้านหมุน ตาลายได้
  • โรคไตวาย มีของเสียคั่งค้างในร่างกาย จะมีผลถึงปลายประสาทในหูชั้นใน เพราะหูชั้นในมีน้ำเลือดเป็นน้ำเหลืองหล่อเลี้ยงประสาททรงตัว ทำให้การได้ยินและการทรงตัวเสื่อมได้
  • โรคหัวใจ จะทำให้การบีบตัวของหัวใจ เพื่อผลักดันเลือดให้เกิดการไหลเวียนกระแสโลหิตไปทั่วร่างกายไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆบกพร่องอวัยวะปลายทาง ได้แก่หูชั้นในและสมองก็จะเสื่อมเร็วลงด้วย 
  • โรคไขข้อเสื่อมหรือข้อเสื่อม ข้อต่อต่างๆของร่างกายเป็นกลไกสำคัญในการเคลื่อนไหว ข้อต่อเหล่านั้น มีน้ำหล่อลื่นและมีกล้ามเนื้อและเอ็นช่วยยืด ช่วยหด เพื่อการใช้งาน ถ้าไขข้อเสื่อม กระดูกข้อเสื่อม กล้ามเนื้อและเอ็นเสื่อม การทำงานก็จะบกพร่องและการเคลื่อนไหวทรงตัว จะเป็นไปได้อย่างลำบาก
  • โรคกระดูกเสื่อมหรือกระดูกงอก ที่สำคัญคือกระดูกข้อต่อส่วนคอ เนื่องจากหลอดเลือดจากหัวใจไปสู่สมอง โดยทอดไปตามรูเปิดของกระดูกคอ ดังนั้นถ้ากระดูกเสื่อม กระดูกงอก อาจกดทับหลอดเลือดทำให้เลือดไหลไปหูชั้นในและสมองไม่สะดวก และอาจเกิดอาการวูบ หน้ามืด ตาลาย เวลาหันหรือแหงนคอ หรือเงยศีรษะ
  • โรคของต่อมไร้ท่อ เช่นโรคธัยรอยด์ มีฮอร์โมนธัยรอยด์ต่ำหรือสูงเกินไป จะมีผลต่อหูชั้นในได้ • โรคของหู เช่นหูน้ำหนวก โรคหูชั้นในที่ชาวบ้านเรียกน้ำในหูไม่เท่ากัน

ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าผู้สูงอายุเสียการทรงตัวเพราะเหตุใด


การระบุว่าผู้เสียอายุเสียการทรงตัวเพราะเหตุใดนั้น จำเป็นต้องตรวจค้นหาสาเหตุ แพทย์ต้องตรวจหลายๆอย่างประกอบกัน ได้แก่

  1. ประวัติ การเจ็บป่วยที่ผ่านมาและกำลังเป็นอยู่
  2. ตรวจวัดความดันโลหิต และอาจต้องตรวจหัวใจด้วย
  3. ตรวจการทรงตัว อาจทำให้หลายวิธีตั้งแต่ การยืน การเดิน การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษตรวจ แยกการเสื่อมทางการเห็น การเสื่อมของข้อต่อ การเสื่อมของหูชั้นในและสมอง เพื่อรู้สาเหตุสำคัญเพราะผู้สูงอายุมักจะเสียการทรงตัวจากหลายๆสาเหตุประกอบกัน
  4. ตรวจเคมีเลือด เพื่อหาความผิดปกติ ได้แก่ น้ำตาลสูง ไขมันสูง ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุสำคัญของการบกพร่องของการไหลของกระแสโลหิต
  5. การตรวจหูและการได้ยิน มีความสำคัญเพื่อแยกสาเหตุจากโรคหู เพื่อการรักษาที่แตกต่างออกไป
  6. การตรวจคลื่นสมอง วัดการทำงานของศูนย์ได้ยิน ศูนย์ทรงตัวในสมอง จะสามารถแยกโรคของหูชั้นใน โรคเนื้องอกของประสาททรงตัวและโรคศูนย์ในก้านสมองเสื่อมได้
  7. ตรวจการไหลของโลหิตไปสมอง โดยใช้ระบบอัลตราซาวนด์เปรียบเทียบความเร็วและความดันของกระแสโลหิตไปสมองทั้งซีกซ้ายและขวา

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อเท้าเคล็ด ข้อเท้าแพลง และเส้นเอ็นอักเสบ

ข้อเท้าเคล็ดและข้อเท้าแพลง ส่วนใหญ่เกิดจาก การเดินสะดุด หรือ หกล้ม เดินพลาด ข้อเท้าพลิก หรือบิดงอเพราะสะดุดสิ่งของ ทำให้ กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นที่ยึดอยู่รอบๆข้อเท้ามีการฉีกขาด เนื่องจาก การถูกกระแทก บิด หรือหกล้ม รวมทั้งการยกของหนักเกินไป



คนที่ข้อเท้าเคล็ดจะมีอาการที่ข้อเท้าจะปวดมาก โดยจะเจ็บมากขึ้นถ้าเคลื่อนไหวข้อเท้า หรือถ้าใช้นิ้วกดบริเวณข้อเท้าจะปวดมาก ควรไปพบแพทย์ทันทีที่เกิดอาการข้อเท้าเคล็ดหรือแพลง เพราะอาจต้องเอ็กซเรย์ข้อเท้า หรือจำเป็นต้องเจาะเอาหนองตรงข้อเท้าออกไปย้อมและเพาะหาเชื้อและให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อตามเชื้อที่ตรวจพบ และอาจจำเป็นต้องเจาะหนองออกบ่อยๆด้วย

แพทย์อาจเข้าเฝีอกเพื่อไม่ให้ข้อเท้าเคลื่อนไหว ผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนพักโดย ยกข้อเท้าให้สูงไว้ และเมื่ออาการอักเสบเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องบริหารข้อเท้าเพื่อป้องกันข้อเท้าแข็ง เมื่อกินยาปฏิชีวนะได้ถูกต้อง ผู้ป่วยจะหายและดีขึ้น ใน 7-10 วัน แต่ถ้ารักษาไม่ถูกวิธีอาจพิการได้

การปฐมพยาบาลและรักษา

หลังได้รับบาดเจ็บจากข้อเท้าแพลง ให้ประคบด้วยน้ำเย็นหรือน้ำแข็งในทันที อาจแช่เท้าที่แพลงในน้ำเย็น เพื่อลดอาการปวดบวม ทำทุก 3-4 ชั่วโมง ในช่วง 2 วันแรก แต่หลังจาก 2 วันไปแล้ว ให้แช่น้ำอุ่นจัดๆ ครั้งละ 15-30 นาที วันละ 2-3ครั้ง และใช้ยาหม่องนวด เพื่อลดอาการอักเสบ

  • ให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดพันพอประมาณไม่แน่นจนเกินไป แล้วยกข้อเท้าที่แพลงให้สูง เวลานอนให้ใช้หมอนรองเท้าให้สูง 
  • ผู้ป่วยควรพักจนกว่าอาการปวดจะดีขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลาหลายวัน แล้วค่อยๆเคลื่อนไหวข้อเท้าให้คืนสู่สภาวะปกติ 
  • ถ้าปวดข้อเท้ามากให้กินยาแก้ปวด ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์ ให้ไปพบแพทย์ ซึ่งอาจต้องเอ็กซเรย์ว่ากระดูกหักหรือไม่
เส้นเอ็นอักเสบ 

ปกติจะพบว่า การอักเสบของเส็นเอ็นมีสาเหตุจากการทำงานหนักหรือได้รับบาดเจ็บ โดยจะมีอาการปวดที่เส้นเอ็นที่เกิดการอักเสบ โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่เส้นเอ็นดึงรั้งและถูกยึด และอาการนี้จะเป็นอยู่นานหลายสัปดาห์ บางทีนานเป็นเดือน

การรักษาและปฐมพยาบาล

  1. หยุดพักการใช้ส่วนที่อักเสบ ให้ใช้น้ำอุ่นจัดๆประคบ ทานวดด้วยยาหม่อง แล้วใช้ผ้าพันแผลแบบยืดพันพอประมาณ เมื่ออาการปวดดีขึ้น ให้ค่อยๆบริหารส่วนที่อักเสบนั้นให้กลับเป็นปกติ
  2. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ แนะนำให้ไปพบแพทย์ ซึ่งอาจจำเป็นต้องเอ็กซเรย์ อาจมีการตรวจพบแคลเซียมหรือหินปูนมาเกาะที่เส้นเอ็น

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สารอาหารแก้ความเครียด

เรื่องเครียดนั้นเป็นเรื่องใหญ่ เราต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือ ค้นหาสิ่งที่ทำให้เครียดให้พบและตัดมันทิ้งไปจึงจะเป็นการแก้ที่ถูกต้องและได้ผล ความเครียดจะเพิ่มภาระหนักให้แก่ร่างกายทุกส่วนทำให้มีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไวตามินซี และ กรดแพนโทเธนิค

ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบโต้ความเครียดทุกชนิดแบบเดียวกัน คือ ต่อมหมวกไต จะผลิตฮอร์โมน ออกมาหลายอย่าง เช่น คอร์ติโซน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยนำอาหารไปใช้ให้เพียงพอกับความเครียดที่เกิดขึ้น



ความเครียดเป็นอันตรายต่อร่างกายเกือบทุกระบบ แม้แต่ผู้หญิงมีครรภ์ที่มีอาการบวมถ้ายิ่งเครียดมากก็ยิ่งบวมมาก ถ้าได้สารอาหารเพียงพอ ความเครียดก็ทำลายร่างกายทุกส่วนได้น้อย แต่ถ้าอาหารไม่เพียงพอ ก็จะได้รับไวตามินไม่เพียงพอไปด้วย เมื่อขาดไวตามินที่จำเป็น เช่น ขาดไวตามิน เอม ไวตามิน บีหนึ่ง, บีสอง, บีหก, ไวตามินซี, ไวตามินอี, โคลีนและกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว ต่อมหมวกไตก็จะผลิตคอร์ติโซนไม่พอ ก็ยิ่งนำอาหารไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยยิ่งขึ้นก็ยิ่งเครียดหนักไปอีก

ฉะนั้นคนที่มีความเครียดมาก จึงควรกินสารอาหารให้ครบถ้วน นั่นก็คือ โปรทีน ไขมัน น้ำ แร่ธาตุ (เกลือแร่) และไวตามินต่างๆ โดยเฉพาะสารอาหารสองตัวหลัง ที่คนไทยเราในปัจจุบันขาดมากที่สุดคงจะเป็นเพราะเราไม่ได้พิถีพิถันหรือสนใจคุณค่าของไวตามินนั่นเอง

โภชนาการที่ดีหรือสารอาหารที่ครบถ้วนก็คงจะช่วยลดความเครียดและการปวดศีรษะในบางรายได้ โดยส่วนใหญ่สิ่งที่คนไทยขาดก็คงมีแต่ไวตามินและแร่ธาตุต่างๆเท่านั้น ถึงแม้ว่าในอาหารที่กินเข้าไปจะมีไวตามินอยู่บ้าง แต่ก็เป็นจำนวนน้อยและถูกทำลายไปกับวิธีปรุงอาหารเสียมาก ที่เหลืออยู่ก็คงจะไม่เพียงพอที่จะสู้กับสารพิษต่างๆที่เราได้รับเข้าไปทั้งทางปากและทางจมูก

มีรายงานทางวิชาการมากมากยกล่าวว่า อาการปวดศีรษะจะหายเมื่อได้ไวตามินและแร่ธาตุต่างๆ และที่ใช้กันมากที่สุดคือ ไวตามินบีหก, แคลเซี่ยม, ไวตามินซี, กรดแพนโทเธนิค, ไวตามีนอี, อาหารพวกเส้นใยต่างๆและโปรทีน แต่ที่จำเป็นที่สุดและขาดไม่ได้คือ การออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน