วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ

ข้อเสื่อม พบมากในคนที่มีอายุมากเกิน 40 ปีเป็นต้นไป หรือในวัยที่ผู้หญิงหมดประจำเดือน พบโรคนี้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า เป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่อาจมีอันตรายจากการกินยาสเตอรอยด์ หรือกินยาแก้ปวดข้อมากเกินไป



สาเหตุของข้อเสื่อมเกิดจาก เป็นไปตามวัย ข้อมีอาการบาดเจ็บหรือรับน้ำหนักมากเกินไป มีหินปูนเกาะที่ข้อ และกระดูกงอขรุขระ เวลาร่างกายเคลื่อนไหวจึงเกิดการปวดในข้อ อาจมีสาเหตุจาก อาชีพที่ต้องใช้ข้อมาก เช่นอาชีพที่ต้องยืนเวลานานต่อเนื่องกัน อ้วนทำให้ใช้ข้อในการรับน้ำหนักมาก หรือ อายุมากที่มากขึ้น

ส่วนของข้อที่พบบ่อยคือ ข้อที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ข้อกระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อกระดูกคอ ข้อกระดูกสันหลัง เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมในผู้สูงอายุจะมีอาการปวดในข้อ เช่น ปวดหลัง ปวดต้นคอ หรือปวดเข่า เรื้อรังเป็นเดือนหรือเป็นปี ผู้ป่วยที่ปวดที่ข้อมักจะปวดตอนกลางคืน หรือตอนอากาศเย็น คนที่ปวดที่ข้อเข่า มักจะปวดมากตอนที่เปลี่ยนจากท่านั่งไปเป็นท่ายืน หรือ ตอนนั่งคุกเข่า หรือ ขัดสมาธินานๆ และตอนยกของหนัก หรือเดินขึ้นบันไดหลายๆชั้น ข้อที่ปวดปกติจะไม่บวมแดง แต่ถ้าปวดมากอาจบวมแดงได้และมีน้ำขังอยู่ในข้อ เมื่อจับข้อเข่าโยกไปมา จะมีเสียงดังกรอบแกรบๆ ถ้าเป็นมากอาจทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก

การรักษาอาการปวดในข้อ

  • ถ้ามีอาการปวด ให้หยุดพักข้อที่ปวดอยู่นั้น เช่น หยุดเดิน หรือยืน ให้ใช้น้ำร้อนประคล และสามารถกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ในบางครั้ง
  • พยายามอย่าทำสิ่งที่จะทำให้ปวดข้อมากขึ้น เช่น ห้ามหาบน้ำหรือยกของหนัก ห้ามนั่งคุกเข่า หรือ ยืนนานเกินไป พยายามนั่งเหยียดเข่าให้ตรง เลี่ยงการขึ้นบันไดหลายชั้น ถ้าอ้วนหรือมีน้ำหนักมากให้ลดน้ำหนัก • บริหารกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น ถ้าปวดเข่าก็ให้บริหารกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้าให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • โดยการฝึกกล้ามเนื้อต้องทำตอนที่ไม่มีอาการปวดหรืออาการปวดทุเลาไปแล้ว ช่วงแรกฝึกวันละ 2-3 ครั้ง ประมาณครั้งละ 5-10นาที จนรู้สึกกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น จึงเพิ่มปริมาณการฝึกเป็นวันละ 3-5 ครั้ง
  • ถ้าอาการปวดยังเป็นอยู่ไม่ทุเลาลงใน 3-4 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด 
ภาวะข้อเสื่อมปกติจะไม่หายขาดและปวดเรื้อรัง บางคนเคลื่อนไหวไม่สะดวก จึงควร ฝึกบริหารกล้ามเนื้อรอบๆข้อที่ปวดให้แข็งแรงอยู่เป็นประจำจะช่วยลดการปวดได้ ถ้ากินยาแก้ปวดควรกิน พาราเซตามอล แต่ไม่ควรกินบ่อย และไม่ควรซื้อยาแก้ปวดเส้น หรือยาลูกกลอนมากินเอง เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ เช่น กระเพาะอาหารทะลุ เลือดออกในกระเพาะอาหาร กระดูกผุ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น