วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ฟันผุ ปวดฟัน เหงือกอักเสบ

ฟันผุ เกิดจากการที่มีเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟัน แบคทีเรียย่อยสลายเศษอาหารนั้น ทำให้เกิดกรดจากการย่อยสลาย กรดนั้นได้ไปกัดกร่อนฟันทีละน้อย จากชั้นเคลือบฟันเข้าไปเรื่อยๆ จนทะลุโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดอาการปวดฟัน



ในช่วงแรกจะมีอาการเสียวฟันเมื่อกินอาหารเย็นหรือร้อน เมื่อฟันผุมากขึ้น จะมีกลิ่นปาก และเมื่อฟันผุจนถึงโพรงประสาท จะทำให้โพรงประสาทอักเสบ และปวดฟันอย่างรุนแรง บางครั้งปวดแปลบๆตลอดเวลา ถ้ารากฟันเป็นหนอง อาจทำให้เชื้อลุกลามกลายเป็นโลหิตเป็นพิษหรือ ไซนัสอักเสบได้

ควรไปหาทันตแพทย์ เพื่อทำการอุดฟันซี่ที่ผุ หรือถอนฟัน ถ้ามีอาการปวดฟันมากให้กินยาแก้ปวด ชั่วคราว เช่น พาราเซตามอล หรือถ้าเกิดการอักเสบ ให้กินยาแก้อักเสบ

การปวดฟันอาจเกิดจาก ฟันคุด ซึ่งคือ ฟันซี่สุดท้าย โผล่ขึ้นมาไม่ได้ เพราะขากรรไกรเล็กลง ทำให้มีเศษอาหารเข้าไปติดได้ง่าย ทำให้มีการอักเสบ บางรายมีอาการไข้ ควรให้ทันตแพทย์ถอนฟันคุดออก

การป้องกันฟันผุ 

  1. แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง เช้าหลังตื่นนอน และ กลางคืนก่อนเข้านอน
  2. หลีกเลื่ยงการกินลูกอม ทอฟฟี่ และขนมหวาน
  3. ใช้ฟลูออไรด์ ในรูปแบบ น้ำยาบ้วนปาก หรือ ผสมในยาสิฟัน เพราะฟลูออไรด์จะช่วยเสริมสร้างผิวเคลือบฟันให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น จะยิ่งได้ผลดีสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 14ปีลงมา 

เหงือกอักเสบ (โรคปริทันต์ รำมะนาด) พบได้บ่อยในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก สาเหตุเกิดจาก การรักษาความสะอาดในช่องปากไม่ดีพอ ทำให้เกิดการสะสมของ หินปูนและ dental plaque (แผ่นคราบฟัน) ซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียอยู่มาก เชื้อแบคทีเรียนี้ได้ปล่อยสายพิษออกมาบริเวณเหงือก ทำให้เหงือกเกิดการบวมและอักเสบได้ จนกระทั่ง มีการทำลายกระดูกเบ้ารากฟัน เกิดอาการฟันโยก และเกิด ฝีรำมะนาด

อาการ
ไม่มีอาการปวดแต่ขอบเหงือกจะบวมแดงและเลือดออกง่ายเวลาแปรงฟัน เมื่อเป็นมากขึ้น จะมีกลิ่นปากและ เหงือกร่น ถ้าเป็นมากต้องเจาะเอาหนองออก ถอนฟัน หรือ ผ่าตัดเหงือก

การรักษา ควรไปหาทันตแพทย์ เพื่อขูดหิดปูนและทำความสะอาดช่องปาก หรือใช้ยาบ้วนปากที่ผสมยาฆ่าเชื้อ โรคเหงือกอักเสบสามารถป้องกันได้โดย แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง เช้าหลังตื่นนอน และกลางคืนก่อนเข้านอนเพื่อรักษาความสะอาดโดยไม่ให้มีการสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ (แผ่นคราบฟัน) ใช้ไหมขัดฟัน ขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง ควรหมั่นไปหาทันตแพทย์ เพื่อตรวจเช็คหินปูน เป็นประจำทุก 6 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น