วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง

อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูง: ควรหลีกเลี่ยงกินอาหารเค็ม เพราะในอาหารเค็มจะมีแร่ธาตุโซเดียม ซึ่งทำให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้นได้ การจำกัดแร่ธาตุโซเดียมในอาหาร ยังเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรคความดันโลหิตสูงที่ได้ผลในผู้สูงอายุนอกเหนือไปจากการกินยา นอกเหนือไปจากการกินยา นอกจากนั้นผงชูรสก็ประกอบด้วยธาตุโซเดียม จึงไม่ควรกินมาก ปริมาณอาหารของแต่ละประเภทควรอยู่ในสัดส่วนดังนี้คือ พวกคาร์โบไฮเดรตราวร้อยละ 75 หรือ ¾ ของทั้งหมด โปรตีนราวร้อยละ 15 ส่วนไขมันนั้นส่วนใหญ่เราได้จากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารซึ่งน้ำมันที่ดีควรเป็นน้ำมันพืช ยกเว้นน้ำมันจากมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม เพราะกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเนื้อเยื่อชนิดต่างๆอยู่ด้วย



ผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตควรระมัดระวังการกินอาหาร 


ควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม ถ้าเป็นโรคไตชนิดที่มีการสูญเสียเกลือแร่ออกทางปัสสาวะ ก็กินอาหารได้ตามปกติ ทั้งนี้ควรได้รับปรึกษาจากแพทย์เป็นรายๆไป อาหารประเภทโปรตีนเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อวัวควรหลีกเลี่ยงยกเว้นเนื้อปลา ควรได้อาหารประเภทโปรตีนวันละ 20-25 กรัม เช่น หมูย่างราว 4 ไม้ เพราะหากกินมากเกินไปจะทำให้ไตที่ยังเหลือต้องทำงานหนักขึ้นกว่าที่ควร ทำให้เสื่อมลงเร็ว นอกจากนั้นต้องลดอาหารที่มีโปแตสเซี่ยม เช่น ผลไม้ ถั่วดำ ถั่วปากอ้า ส่วนผู้ที่ต้องรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเป็นรายๆไป

โดยสรุป ผู้สูงอายุควรกินอาหารแต่พออิ่ม ไม่มากเกินไป จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่ากลุ่มให้กินอาหารตามสบายจนอ้วน จะมีช่วงชีวิตสั้นกว่ากลุ่มให้อาหารแต่พอประมาณ การขวนขวายสรรหายาบำรุงเสริมสุขภาพที่โฆษณากันทั่วไปและมักมีราคาแพง ก็ไม่มีประโยชน์เพิ่มขึ้น ไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป ถ้าผู้สูงอายุท่านนั้นกินอาหารได้ครบทั้ง 5 หมู่ และไม่มีภาวะท้องร่วงหรือโรคที่ทำให้เบื่ออาหารกินอาหารไม่ได้


การควบคุมอาหารที่ดีช่วยรักษาโรคเบาหวานได้จริง 


สัดส่วนของอาหารแต่ละประเภทสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเหมือนกับในผู้สูงอายุที่เป็นโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ที่สำคัญที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงอาหารหวานทุกชนิด หรือแม้แต่เครื่องดื่มที่มีรสหวานหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะอ้วนโดยไม่กินจุกจิก ไม่กินเสร็จแล้วเข้านอนทันที ควรมีการออกกำลังกายเสริมด้วย ประเภทการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น เดินติดต่อกันเป็นเวลา ครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง เพื่อเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่อาจถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลถ้ากินมากเกินไป นอกจากนั้นการออกกำลังกาย ยังทำให้กล้ามเนื้อใช้น้ำตาลในกระแสเลือดได้ดีขึ้น ทำให้การควบคุมเบาหวานเป็นไปได้ดี สำหรับผู้สูงอายุที่ได้ยาเบาหวานอยู่ด้วย ถ้าเมื่อใด มีภาวะท้องร่วงหรือไม่สามารถกินอาหารได้จากสาเหตุใดก็ตาม ก็กลับมากินยาเบาหวานในวันต่อมา ถ้ากินไม่ได้นานเกินกว่า 2-3วัน ควรรีบปรึกษาแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น